Quantcast
Channel: Apex Profound Beauty
Viewing all articles
Browse latest Browse all 2628

ห้ามใช้! รวม 7 ฟิลเลอร์อันตราย ฉีดแล้วหน้าพัง ไม่ผ่านอย.

$
0
0

ฟิลเลอร์อันตรายห้ามใช้! รวม 7 ฟิลเลอร์อันตราย ฉีดแล้วหน้าพัง ไม่ผ่านอย.

ฟิลเลอร์ปลอม ไม่มีคุณภาพยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีข่าวออกมาเตือนอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ยังมีหมอกระเป๋า หรือคลินิกเสริมความงามที่ไม่ได้มาตรฐาน หิ้วฟิลเลอร์ปลอมเข้ามาฉีดให้คนไข้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากฟิลเลอร์เหล่านี้มีราคาถูก เป็นที่ล่อตาให้หลาย ๆ คนมาใช้บริการด้วย แต่ถ้าเราตัดสินใจฉีดเพียงเพราะว่าราคาไม่แพง แต่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัย หรือไม่เช็คก่อนว่าฟิลเลอร์ที่กำลังฉีดนั้นผ่านอย.หรือไม่แล้วล่ะก็..รับรองว่าผลลัพธ์ที่ได้คือหน้าพังแน่นอน

ในบทความนี้เราเลยจะมาบอกถึงผลข้างเคียง และความอันตรายของการฉีดฟิลเลอร์ปลอม อีกทั้งยังรวม 7 ฟิลเลอร์อันตราย ไม่ผ่านอย. มาเตือนทุกคนกันด้วยค่ะ

ประเภทของฟิลเลอร์

  • ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว (Temporary filler)

ถือเป็นฟิลเลอร์ที่มีปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งผ่านการรับรองจาก US FDA และ อย. ของไทย ให้สามารถใช้เติมเต็มใบหน้า หรือใช้รักษาคนไข้ได้ โดยฟิลเลอร์แบบชั่วคราวที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในปัจจุบัน คือ สารไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ HA มีระยะเวลาคงตัวอยู่ได้ประมาณ 9-24 เดือน ก่อนที่จะค่อย ๆ สลายตัวไปได้เอง 100% ตามกระบวนการทำงานของร่างกาย ทำให้ไม่ทิ้งสารตกค้างไว้

  • ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร (SemiPermanent Filler)

ถือเป็นฟิลเลอร์ที่มีความปลอดภัยรองลงมาจากแบบแรก แต่ยังไม่ผ่านการรับรองจากอย.ไทยให้ใช้รักษาคนไข้ โดยมีระยะเวลาคงตัวอยู่ได้ประมาณ 2-5 ปี แต่ไม่สามารถสลายได้หมด 100% ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เนื่องจากร่างกายจะคิดว่าสารที่ฉีดเข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ในระยะยาวจึงอาจมีอาการแพ้ หรือใบหน้ามีอาการผิดปกติได้ ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร เช่น สารโพลีอัลคิลลิไมด์ (Polyalkylimide), PLLA โพลี่ แอล แลคติด แอซิด (PolyLlactic acid)

  • ฟิลเลอร์แบบถาวร (Permanent Filler)

ถือเป็นฟิลเลอร์ที่มีความปลอดภัยน้อยที่สุด หรือไม่มีความปลอดภัยเลย เนื่องจากชั้นผิวไม่สามารถดูดซึมฟิลเลอร์แบบถาวรได้ อีกทั้งยังเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายตัวได้เอง ทำให้เกิดสารตกค้างอยู่ภายใต้ชั้นผิวหนัง ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ ไม่ว่าจะเป็น ฟิลเลอร์ไหล เป็นก้อน จนใบหน้าเบี้ยวผิดรูป ไปจนถึงฟิลเลอร์บวมเน่า หรือผิวเกิดการอักเสบรุนแรงได้ โดยฟิลเลอร์แบบถาวร เช่น น้ำมันพาราฟิน, ซิลิโคนเหลว, PMMA (Polymethylmethacrylate)

ความอันตรายของฟิลเลอร์ปลอม

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ได้รับการฉีดฟิลเลอร์ปลอม มักจะฉีดกับหมอกระเป๋าที่หิ้วยาเข้ามา หรือฉีดกับคลินิกที่ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีใบอนุญาต ทำให้ไม่สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทผู้นำเข้าฟิลเลอร์อย่างถูกต้องได้ อีกทั้งในเรื่องของเครื่องมือแพทย์ ไม่ว่าจะเข็ม หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อาจจะไม่สะอาดพอ จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์ได้ด้วยเช่นกัน

โดยผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมมักจะมีอาการที่พบได้บ่อย ๆ คือ เป็นก้อนไม่เรียบเนียน เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือไม่สามารถสลายได้จนฟิลเลอร์ไหล ทำให้ใบหน้าเบี้ยวผิดรูป หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นเกิดการอุดตันในเส้นเลือด มีอาการเน่า ไปจนถึงตาบอดได้เลยทีเดียว ซึ่งแก้ไขรักษาได้ยากมาก และใบหน้าอาจจะไม่กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ต้องฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ฟิลเลอร์แท้ ที่ผ่านการรับรองจากอย. เป็นฟิลเลอร์แบบชั่วคราว (Temporary filler) อย่างสารไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) เท่านั้น เพราะเป็นสารเดียวที่ผ่านการอนุญาตให้ใช้สำหรับฉีดเติมเต็ม และเป็นสารที่สามารถสลายตัวได้เอง หรือหากอยากแก้ไขก็สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ง่าย ไม่เป็นอันตราย

7 ฟิลเลอร์อันตราย ไม่ผ่านอย.

1. Artefill

แม้ว่าจะผ่านการรับรองจาก US FDA แต่ฟิลเลอร์ตัวนี้ไม่ผ่านการรับรองจากอย.ไทย เนื่องจากเป็นฟิลเลอร์แบบถาวร (Permanent Filler) ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมได้ โดยเป็นสาร PMMA (Polymethylmethacrylate) หรือพอลิเมอร์ หากฉีดเข้าไปในระยะยาวจะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นก้อน บวมแดงอักเสบในบริเวณที่ฉีด อีกทั้งยังเป็นเรื่องยากในการรักษา หรือเอาฟิลเลอร์ประเภทนี้ออกอีกด้วย ต้องทำการขูดหรือตัดออกเท่านั้น ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายต่อตัวผู้ฉีดเอง

Radiesse2. Radiesse

แม้ว่าจะผ่านการรับรองจากต่างประเทศ แต่ฟิลเลอร์ตัวนี้ที่ไม่ผ่านการรับรองจากอย.ไทย เนื่องจากเป็นฟิลเลอร์ประเภทกึ่งถาวร (SemiPermanent Filler) โดยเป็นสาร Calcium Hydroxyapatite หรือสารเคมีแคลซียมไนเตรต แม้ว่าจะสามารถสลายได้บางส่วน แต่ก็ยังมีสารเคมีที่ตกค้างอยู่ใต้ชั้นผิว เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกินอันตรายต่อร่างกายได้ รวมถึงถ้าต้องการเอาฟิลเลอร์ชนิดนี้ออก ต้องทำการขูดเท่านั้น ยังไม่มีตัวยาเข้ามาสลายได้

3. Silikon 1000

ฟิลเลอร์ตัวนี้สังเคราะห์มาจาก Silicon Oil หรือ ซิลิโคนเหลว แน่นอนว่าไม่ผ่านการรับรองจากอย.ไทย เพราะเป็นฟิลเลอร์แบบถาวร (Permanent Filler) ไม่สามารถดูดซึมและสลายได้ทั้งหมด จึงก่อให้เกิดสารตกค้างในร่างกาย จนส่งผลข้างเคียงได้ในระยะยาว ที่จะเห็นได้ส่วนใหญ่คือฟิลเลอร์ไหลเบี้ยวผิดรูป และรุนแรงถึงขั้นฟิลเลอร์เน่าได้ รักษาได้ยากต้องขูดหรือตัดชิ้นเนื้อที่เสียหายออก ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายต่อคนไข้

ฟิลเลอร์อันตราย 4. Hyacorp

ฟิลเลอร์ยี่ห้อนี้แม้ว่าจะเป็นสาร โซเดียมไฮยาลูโรเนต (Sodium Hyaluronate) ซึ่งสามารถสลายตัวได้เอง แต่ตอนนี้อย.ไทย ได้ยกเลิกการรับรอง ไม่สามารถใช้ฉีดเติมเต็มได้อีก เนื่องจากมีเคสที่ฉีดแล้วเกิดอาการอักเสบ ดังนั้นหากมีคลินิกไหนแนะนำให้ฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อนี้ต้องระวังเรื่องของความปลอดภัย เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง หรืออันตรายต่อร่างกายได้

5. Sculptra

ฟิลเลอร์ตัวนี้สังเคราะห์มาจากสาร PLLA โพลี่ แอล แลคติด แอซิด (PolyLlactic acid) นิยมใช้กันมากในยุโรป มักนำมาใช้ละลายไหมเย็บแผลและใช้สกรูในการศัลยกรรมกระดูก และพัฒนามาเติมเต็มใบหน้า ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสารที่สลายเองได้ แต่ไม่ทั้งหมด เพราะเป็นฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร (SemiPermanent Filler)  ไม่ผ่านการรับรองจากอย.ไทย เพื่อนำมาใช้เติมเต็ม และรักษาคนไข้ ดังนั้นถ้าหากฉีดเข้าไปอาจจะทำให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้

6. Ellanse

ฟิลเลอร์อีกยี่ห้อที่ไม่ผ่านการรับรองจากอย.ไทย เนื่องจากเป็น ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร (SemiPermanent Filler) พอลิคาโปรแลคโตน (Polycaprolactone: PCL) ไม่สามารถสลายไปจากชั้นผิวหนังได้ทั้งหมด ทำให้เกิดสารตกค้างในร่างกาย จนนำไปสู่ผลข้างเคียงในระยะยาว และแก้ไข เอาฟิลเลอร์ประเภทนี้ออกได้ค่อนข้างยาก

ฟิลเลอร์อันตราย7.Dermalax

แม้ว่าจะผ่านอย.เกาหลี และเป็นสาร Hyaluronic Acid ที่สามารถสลายตัวได้เอง แต่ฟิลเลอร์ยี่ห้อนี้ไม่ผ่านการรับรองจากอย.ไทย จึงไม่สามารถฉีดเติมเต็ม รักษาคนไข้ได้ ดังนั้นการนำเข้าตัวฟิลเลอร์มาไทยเลยมีลักษณะเป็นการหิ้วตัวยาเข้ามา ไม่มีการรักษาอุณหภูมิ หรือมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งทำให้คุณภาพของตัวฟิลเลอร์ลดลงไปได้อย่างแน่นอน เมื่อนำมาฉีดจึงสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง และอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

 

รู้แบบนี้แล้ว ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ทุกครั้งต้องศึกษาหาข้อมูล เช็คให้แน่ใจก่อนว่าคลินิกที่เราจะเข้ารับบริการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นฟิลเลอร์แท้ ยี่ห้อผ่านการรับรองจากอย.ไทย อย่างถูกต้อง พร้อมฉีดด้วยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะช่วยให้เรามั่นใจได้ถึงความปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ออกมาที่สวยงามอย่างเป็นธรรมชาติ สำหรับใครที่อยากรู้วิธีการตรวจสอบฟิลเลอร์ของแท้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้เลยค่ะ >> bit.ly/31BxY7W

 

สำหรับท่านใดที่สนใจ ฉีดฟิลเลอร์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @apexbeauty (มี @ นำหน้า) APEX ของเรามีทีมแพทย์ผูเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีเครื่องมือที่ทันสมัยและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน คอยให้บริการทุกท่านอยู่นะคะ

The post ห้ามใช้! รวม 7 ฟิลเลอร์อันตราย ฉีดแล้วหน้าพัง ไม่ผ่านอย. appeared first on Apex Profound Beauty.


Viewing all articles
Browse latest Browse all 2628

Trending Articles